กัญชง ( Hemp ) กับ กัญชา (Cannabis) แท้จริงแล้วเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มองผ่าน ๆ ทำไม หน้าตาถึงได้คล้ายกันจนแยกไม่ออก แล้วตามความคิดของคุณ คุณคิดว่าพืชทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นยาเสพติดหรือพืชสมุนไพรไปไขความกระจ่างกับบทความนี้กันในบทความนี้เลยเลย
กัญชา (Cannabis) และกัญชง (Hemp) พืชทั้งสองชนิดเป็นพืชล้มลุก ที่มีถิ่นกำเนิดเดียวกันในวงศ์ Cannabaceae ที่อยู่ในตระกูล Cannabis เหมือนกัน ต่างกันที่สายพันธุ์ย่อยจึงทำให้กัญชงและกัญชามี ลักษณะที่คล้ายกัน โดยจะแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ และปริมาณสารสำคัญ
กฏหมายที่เกี่ยวกับ กัญชา (Cannabis) และ กัญชง (Hemp)
กฏหมายในประเทสไทยที่มีเนื้อความเกี่ยวกับ กัญชา (Cannabis) และ กัญชง (Hemp) ได้แก่ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 คือ กัญชงถูกจัดให้เป็นพืชที่อยู่ในบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เนื่องจาก กัญชง เป็นพืชสายพันธุ์ย่อยของกัญชา ที่มีสารเสพติดออกฤทธิ์สำคัญที่ชื่อว่า THC (Tetrahydrocannabinol) แต่ในปัจจุบันกัญชาและกัญชงถูกปลดล็อคจากกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ออกประกาศกฎกระทรวงเรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563 และให้บางส่วนของต้นกัญชง บางส่วนของต้นกัญชา และสารสกัดที่มี CBD (Cannabidiol) เป็นส่วนประกอบและต้องมีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ไม่จัดว่าเป็นยาเสพติด
นิยามของ “ยาเสพติดให้โทษประเทภ 5 ” นั้น ไม่มีคำว่า “กัญชง” ปรากฎอยู่ในกฎหมายยาเสพติดฉบับอื่นใด ทำให้เกิดปัญหาควรพิจารณาคือ กัญชงเป็นยาเสพติดหรือไม่? จึงทำให้ใมีการออกประกาศกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึงยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะ เฮมพ์ พ.ศ. 2559 ขึ้น ดังนั้น คำว่า กัญชง (Hemp) จึงได้ปรากฎอยู่ในกฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. 2559 อาศัยอำนาจกฎหมายแม่ คือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้มีนิยามข้อความว่า เฮมพ์ (Hemp) หมายความว่า พืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp.sativa อันเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabissativa L.) ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 กัญชงและกัญชาถูกปลดล็อคไม่ถือเป็นยาเสพติด และยกเลิกความผิดฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออก มีไว้ในครอบครอง หรือจำหน่ายมีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ แต่ถึงอย่างนั้นสารสกัดที่มีสาร THC เกิน 0.2% ยังคงถือเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 อยู่ ฉะนั้นใครที่คิดปลูกหรือใช้กัญชงควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วน เพื่อป้องกันไม่ให้ทำผิดกฎหมายแบบไม่รู้ตัว
ความแตกต่างระหว่าง กัญชง (Hemp) และ กัญชา (Cannabis)
กัญชง (Hemp) เป็นพืชที่มีแหล่งกำเนิดในเขตเอเชียกลาง มีการแพร่กระจายไปทั่วเอเชียตะวันออก อินเดีย ตลอดจนทวีปยุโรป มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. และเป็นพืชในวงศ์ cannabaceae คือวงศ์เดียวกับ กัญชา ที่มีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกัน ทำให้สับสนเข้าใจว่ากัญชงมีสรรพคุณเป็นสารเสพติดเหมือนกัญชาในการเสพ การจำแนกพืชสดทั้งสองชนิดจากลักษณะภายนอกที่มองเห็นสามารถนำมาจำแนกได้บางส่วน
ความแตกต่างระหว่าง กัญชง และ กัญชา นั้น เมื่อพิจารณาลักษณะทางกายภาพของกัญชงจะเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกับกัญชาไม่น้อยทีเดียว เนื่องจากพืชทั้ง 2 ชนิด มีถิ่นกำเนิดและอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ถ้าลองสังเกตให้ดี ๆ จะรู้ถึงความแตกต่างของกัญชงและกัญชา อาทิ
- ลักษณะของใบ : ใบกัญชงมีลักษณะที่เรียวกว่ากัญชา ทั้งยังมีการเรียงตัวห่างกว่า ใบเป็นสีเขียวอ่อน มีแฉกประมาณ 7-11 แฉก ซึ่งต่างจากกัญชาที่มีใบหนากว่า มีการเรียงตัวชิดกัน ส่วนใบมีสีเขียวเข้ม และมีแฉกประมาณ 5-7 แฉก
- ลักษณะของลำต้น : ในส่วนของลำต้นกัญชงมีลักษณะเรียวสูงมากกว่า 2 เมตร ลำต้นเป็นปล้องหรือข้อยาว เปลือกเหนียวลอกง่าย แม้แตกกิ่งก้านสาขาน้อยแต่ไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่ต้นกัญชาจะมีลักษณะเป็นพุ่ม ลำต้นเป็นปล้องหรือข้อสั้น แตกกิ่งก้านมาก ทั้งสูงไม่เกิน 2 เมตร
- ลักษณะของเมล็ด : สำหรับเมล็ดกัญชงมีขนาดใหญ่ ผิวเมล็ดเรียบ และเป็นลายบ้าง ส่วนเมล็ดกัญชาจะมีขนาดเล็กกว่า และผิวมีลักษณะมันวาว
ลักษณะทางพันธุกรรมของ กัญชง และ กัญชา
ลักษณะทางพันธุกรรมของกัญชง จะมีต้นที่สูงเรียว มีใบเรียวเป็นแฉกมีประมาณ 7-11 แฉก ต่อ 1 ใบ ขอบใบเหมือนใบเลื่อย ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ลำต้นสูงเรียวมากกว่า 2 เมตร และมีสีเขียวอ่อน ขณะเดียวกันกัญชงจะออกดอกตามซอกใบ ปลายยอดของดอกเป็นช่อมีสีขาวขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตรเท่านั้น ส่วนผลกัญชงมีลักษณะเป็นรูปไข่กลมรี ผิวเรียบมันมีลายสีน้ำตาล ผลเป็นเมล็ดแห้งสีเทา
สารประกอบหลักในพืช กัญชง
สารประกอบหลักที่พบในพืชกัญชา (Hemp) ประกอบด้วยหลายส่วนหลัก ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณลักษณะและสมบัติของพืช รวมถึงมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางการแพทย์ด้วย สารประกอบหลักที่สำคัญประกอบด้วย:
การใช้ประโยชน์ของ ของ กัญชง (Hemp)
ประโยชน์ของกัญชง (Hemp) ที่กำลังจะบอกต่อไปนี้ จัดว่าใช้ได้ทุกส่วนเลยจริง ๆ แบ่งออกเป็น 8 อย่างหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
- น้ำมันจากเมล็ดกัญชง : น้ำมันที่ได้จากเมล็ดสามารถนำไปทำประโยชน์ได้ ตั้งแต่น้ำยาซักแห้ง, ครีมกันแดด, เครื่องสำอาง, สบู่, แชมพู, โลชั่นบำรุงผิว, ลิปบาล์ม, ลิปสติก, น้ำมันเชื้อเพลิง, แผ่นมาสก์หน้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังถูกนำไปสกัดเป็นครีมน้ำมันกัญชงช่วยบำรุงผิวที่แห้งให้เกิดความชุ่มชื้น รักษาโรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังแห้งแตก ลดอาการคัน ได้ผลลัพธ์ดี
- ส่วนของเมล็ดกัญชง : ใครที่ไม่ได้เอาน้ำมันจากเมล็ดก็สามารถนำเมล็ดที่ได้ไปให้อาหารนก หรือแม้แต่คนก็รับประทานได้เช่นกัน กลายเป็นน้ำมันจากโอเมก้า 3 โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มวิตามินดีที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ลดความเสี่ยงเกิดมะเร็ง รวมถึงมีสาร linoleic acid, alpha- และ gamma-linolenic acid
- โปรตีนในเมล็ดกัญชง : นอกจากเรื่องของตัวน้ำมัน หรือเมล็ดโดยตรงแล้ว กัญชงยังมีประโยชน์ที่ได้จากโปรตีนในเมล็ดอีกด้วย ซึ่งมีอยู่ในปริมาณที่สูงมาก จะช่วยนำไปแปรรูปทำเป็นของคาวหวานเพื่อรับประทานได้หลากหลาย เช่น นม ไอศกรีม เนย ชีส น้ำมันสลัด เต้าหู้ โปรตีนเกษตร อาหารเสริม อาหารว่าง ฯลฯ หรือเอาไปแปรรูปเป็นแป้งแทนถั่วเหลืองก็ได้
- เปลือกจากลำต้นกัญชง : เปลือกที่ได้จากลำต้นนั้นสามารถนำไปทำเป็นเชือก หรือเส้นด้ายเพื่อใช้ในการถักทอทำเครื่องนุ่งห่ม, ผ้าห่ม, ผ้าคลุม ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี หรือใช้ทำพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นด้ายสายสิญจน์ รองเท้าคนที่ล่วงลับเพื่อเปิดทางนำไปสู่สวรรค์ พิธีเข้าทรง หรืออัวเน้งที่ชาวม้งให้ความสำคัญ เป็นต้น
- เนื้อ และแกนของลำต้นกัญชง : เนื้อไม้สามารถลอกเปลือกออกแล้วนำไปผลิตเป็นกระดาษได้ ในส่วนของแกนลำต้นมีความพิเศษตรงที่สามารถดูดซับกลิ่น น้ำมัน หรือน้ำได้ค่อนข้างดี แม้ในประเทศไทยเราจะยังไม่มี แต่ในต่างประเทศพบว่านำแกนลำต้นไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวล เช่น ถ่านไม้ แอลกอฮอล์ เอทานอล เมทานอล ฯลฯ รวมถึงนำไปผลิตเป็นสิ่งประดับตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ อาคาร
- ใบกัญชง และเส้นใยจากกัญชง : สุดท้ายเป็นเรื่องของใบกัญชงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เยอะ ไม่ว่าจะเป็น ยารักษาโรค, อาหาร, แปรรูปเป็นใบชาเพื่อสุขภาพ, นำผงไปชงดื่ม, เป็นอาหารเสริม, ทำไวน์, เบียร์, เส้นพาสต้า, ขนมปัง, คุกกี้, ซอสปรุงรสจิ้มอาหาร รวมถึงเป็นส่วนประกอบเครื่องสำอางที่จะช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้น ใครผิวบอบบาง แพ้ง่ายต้องใช้เลย ส่วนเส้นในตามความเชื่อจัดว่าเป็นมงคลมาก มีความเหนียว นุ่ม ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นำไปถักตัดกิโมโนด้วยความทนทานนับ 100 ปีก็ยังสภาพดีอยู่
การใช้ประโยชน์ของ กัญชง ( Hemp ) ให้เต็มที่ต้องอาศัยการวิจัยและการพัฒนาเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม