“กัญชง หรือ เฮมพ์ (Hemp)” เป็นพืชในตระกูล Cannabaceae เช่นเดียวกับ “กัญชา (Cannabis)” ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพบางอย่างที่คล้ายกัน แต่สามารถแยกแยะกันได้จากลักษณะของลำต้นและใบ ซึ่ง “กัญชง” มักมีลักษณะลำต้นที่สูงกว่าและใบที่เรียวยาวและมีสีที่อ่อนกว่า “กัญชา” นอกจากนี้ “กัญชง” ยังมีลักษณะทางเคมีที่แตกต่างกันด้วย โดยมีปริมาณของสาร THC ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทน้อยกว่า “กัญชา” และมีสาร CBD ที่ช่วยในการรักษาโรคบางชนิดในปริมาณที่มากกว่าใน “กัญชา”
กัญชงและกัญชา พืชตระกูล Cannabaceae แต่ต่างกันอย่างไร
“กัญชา (Marijuana)” และ “กัญชง (Hemp)” เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดเดียวกันในวงศ์ Cannabaceae ที่อยู่ในตระกูล Cannabis เหมือนกัน ต่างกันที่สายพันธุ์ย่อย จึงทำให้ “กัญชง” และ “กัญชา” มีลักษณะที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพและปริมาณสารสำคัญ
- สาร THC (Tetrahydrocannabinol) : เป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ส่งผลต่ออารมณ์ ความจำ ความรู้สึก ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม อยากอาหาร และลดอาการคลื่นไส้ อาจเจียน
- สาร CBD (Cannabidiol) : เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท แต่จะมีฤทธิ์ระงับอาการปวด ลดการอักเสบ ลดอาการ ชักเกร็ง และลดความกังวล
สำหรับประเทศไทย กัญชง และ กัญชา จัดเป็นสารเสพติดให้โทษหรือไม่ ?
สำหรับประเทศไทย กัญชง และ กัญชา จัดเป็นสารเสพติดให้โทษหรือไม่ ?
แรกเริ่มเดิมที กัญชง และ กัญชา ถูกจัดให้เป็นพืชที่อยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เนื่องจากกัญชงเป็นจัดพืชสายพันธุ์ย่อยของกัญชา ที่มีสารเสพติดออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้ผู้เสพมีอาการตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะ อีกทั้งยังช่วยให้ผ่อนคลาย และบรรเทาอาการบาดเจ็บอีกด้วย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ได้มีการปลดล็อก กัญชง และ กัญชา ให้ถือว่าไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ และยดเลิกความผิดฐาน ผลิต นำเข้า ส่งออก มีไว้ในครอบครอง หรือจำหน่ายไว้ในครอบครองเพื่อเสพ แต่อย่างไรก็ตาม สาร THC ที่มีปริมาณที่เกิน 0.2% ต่อน้ำหนัก ยังคงถือว่าเป็นสารเสพติดให้โทษประเภท 5 ฉะนั้นใครที่คิดจะปลูกหรือใช้กัญชง ควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกฏหมาย ในเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วน เพื่อป้องกันไม่ให้ทำผิดกฏหมายแบบไม่รู้ตัวนั่นเอง
พืชกัญชง มีสรรพคุณและประโยชน์อะไรบ้าง ?
ประโยชน์และสรรพคุณของพืช กัญชง เรื่องแรกคือ ทำให้นอนหลับพักผ่อนได้ง่ายมากขึ้น เกิดอาการเคลิ้มฝัน ระงับอาการเจ็บปวด ช่วยยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือด เพราะมีสาร CBD ( Cannabidiol ) มีสรรพคุณเหมือนยาแก้อักเสบ แม้ว่าพืชชนิดนี้จะมีสาร THC เหมือนกับพืชกัญชา แต่เมื่อเปรียบเทียบกันทางด้านปริมาณของสาร THC (Tetrahydrocannabinol) แล้วมีน้อยกว่ามาก หรืออาจแทบไม่มีเลยก็ว่าได้ นั่นจึงช่วยเสริมความเคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลายมากขึ้น ในส่วนของใบยังสามารถใช้เป็นยาบำรุงเลือกได้ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ รักษาโรคเก๊าท์ หรืออาการเจ็บปวดข้อกระดูกและโรคท้องร่วง อีกทั้งทุกส่วนของต้นกัญชงนั้น ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย โดยแบ่งออกเป็น 8 ประเภทดังต่อไปนี้
- น้ำมันจากเมล็ดดอกกัญชง สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ ตั้งแต่น้ำยาซักแห้ง, ครีมกันแดด, เครื่องสำอาง, สบู่, แชมพู, โลชั่นบำรุงผิว, ลิปบาล์ม, ลิปสติก, น้ำมันเชื้อเพลิง, แผ่นมาสก์หน้า และอื่น ๆ นอกจากนี้ น้ำมันจากเมล็ดดอกกัญชงยังถูกนำไปสกัด เป็นครีมน้ำมันกัญชง ช่วยบำรุงผิวที่แห้งให้เกิดความชุ่มชื้น รักษาโรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังแห้งแตก ลดอาการคัน ได้ผลลัพธ์ที่ดี
- เปลือกจากลำต้น : สามารถนำเปลิอกจากลำต้นกัญชงไปทำเป็นเชือก หรือเส้นด้ายเพื่อใช้ในการถักทอ ทำเครื่องนุ่งห่ม, ผ้าห่ม, ผ้าคลุม และอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี หรืออาจจะใช้เป็นเครื่องรางในวัฒนธรรมต่าง ๆ หรือใช้ทำพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นด้ายสายสิญจน์ รองเท้าคนที่ล่วงลับเพื่อเปิดทางนำไปสู่สวรรค์ หรือใช้ในพิธีเข้าทรง หรืออัวเน้งที่ชาวม้งให้ความสำคัญ
- ใบและเส้นใย : ใบกัญชงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ยารักษาโรค, อาหาร, แปรรูปเป็นใบชาเพื่อสุขภาพ, นำผงไปชงดื่ม, เป็นอาหารเสริม, ทำไวน์, เบียร์, เส้นพาสต้า, ขนมปัง, คุกกี้, ซอสปรุงรสจิ้มอาหาร รวมถึงเป็นส่วนประกอบเครื่องสำอางที่จะช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้น ส่วนเส้นใยกัญชง ตามความเชื่อโบราณจัดว่าเป็นมงคลมาก มีความเหนียว นุ่ม ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นำไปถักตัดกิโมโนด้วยความทนทานนับ 100 ปีก็ยังสภาพดีอยู่
ที่ผ่านมามีกฎหมาย ในการใช้งานกัญชงหลายฉบับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ที่กำหนดเป็นพืชเสพติดประเภท 5 ปี พ.ศ. 2547 สามารถศึกษาและส่งเสริม ให้ชาวไทยภูเขาปลูกได้ นอกจากใช้ครัวเรือน ก็ใช้ทดลองในมูลนิธิโครงการหลวง ในปี พ.ศ. 2548 เพิ่มเป็นพื้นที่นำร่อง 5 ปี บนพื้นที่สูงภาคเหนือ ร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาพืชชนิดนี้ โดยคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ดี กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่เพิ่งได้รับการยอมรับให้สามารถ ปลูกได้ทุกวัตถุประสงค์ โดยประชาชนทั่วไปสามารถปลูกในระดับครัวเรือน ที่ต้องไม่เกิน 1 ไร่ เป็นไปตามที่กฎหมายจาก อย. หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออกมาตรการกำกับดูแล ในปี พ.ศ. 2565